วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ชาติชาย เชี่ยวน้อย

ชาติชาย เชี่ยวน้อย มีชื่อจริงว่า นริศ เชี่ยวน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2485 ที่อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ชาติชาย เชี่ยวน้อย เป็นนักมวยรูปร่างเล็ก แต่มีจิตใจที่กล้าหาญ ไม่กลัวใคร เป็นมวยในสไตล์ไฟเตอร์ เดินหน้าไม่มีหยุด ชกสนุก เดินทางไปชกทั่วโลก มีสถิติการชกมากมาย จนนับได้ว่าเป็นแชมป์โลกที่มีสถิติการชกมากที่สุดของไทยตราบจนปัจจุบัน จึงได้ฉายาจากชาวต่างชาติว่า "มาร์เซียโน่น้อยแห่งเอเชีย" (มาจาก ร็อคกี้ มาร์เซียโน่ แชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทผิวขาว ชาวอเมริกัน ร่วมสมัย) กางเกงของชาติชายเมื่อขึ้นชก จะปักอักษรคำว่า "BOY" ไว้เสมอ โดยเป็นชื่อเล่นของลูกชายคนที่สอง คือ "จรัลโรจน์ เชี่ยวน้อย" นั่นเอง



Reply226631 s444.JPG
 
ชาติชาย เชี่ยวน้อย มีชื่อจริงว่า นริศ เชี่ยวน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2485 ที่อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ชาติชาย เชี่ยวน้อย เป็นนักมวยรูปร่างเล็ก แต่มีจิตใจที่กล้าหาญ ไม่กลัวใคร เป็นมวยในสไตล์ไฟเตอร์ เดินหน้าไม่มีหยุด ชกสนุก เดินทางไปชกทั่วโลก มีสถิติการชกมากมาย จนนับได้ว่าเป็นแชมป์โลกที่มีสถิติการชกมากที่สุดของไทยตราบจนปัจจุบัน จึงได้ฉายาจากชาวต่างชาติว่า "มาร์เซียโน่น้อยแห่งเอเชีย" (มาจาก ร็อคกี้ มาร์เซียโน่ แชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทผิวขาว ชาวอเมริกัน ร่วมสมัย) กางเกงของชาติชายเมื่อขึ้นชก จะปักอักษรคำว่า "BOY" ไว้เสมอ โดยเป็นชื่อเล่นของลูกชายคนที่สอง คือ "จรัลโรจน์ เชี่ยวน้อย" นั่นเอง
[

 วัยเด็ก

ชาติชายเป็นบุตรคนที่ 3 ของ ร.ต.ต.สุจิต และนางรักสอาด เชี่ยวน้อย ในจำนวนพี่น้อง 9 คน ฐานะครอบครัวของชาติชายนับว่ายากจน หลังจบ ป.4 จากโรงเรียนวัดเครือวัลย์แล้ว ชาติชายต้องออกมาช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน โดยชาติชายชกมวยครั้งแรกเมื่ออายุได้ 14 ปี ที่ค่ายมวย "ลูกวังเดิม" หลังวัดใหม่พิเรนทร์ อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี โดยการชกครั้งแรกของชาติชายชนะน็อกยก 2 ได้เงินรางวัล 50 บาท

 เริ่มชกมวย

จากนั้นจึงได้ย้ายค่ายมาอยู่กับ ม.ล.สุทัศน์ สุประดิษฐ์ เจ้าของค่าย "แหลมฟ้าผ่า " จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ชาติชาย แหลมฟ้าผ่า" และจากชื่อนี้เองที่ได้สร้างประสบการณ์และชื่อเสียงให้กับชาติชาย ก่อนจะเปลี่ยนเป็น "ชาติชาย เชี่ยวน้อย" ในเวลาต่อมา โดยได้ตระเวนชกไปทั่วทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 50 ไฟท์ รวมทั้งเอาชนะคะแนน ซันวาตอเร่ เบอรูนนี่ แชมป์โลกชาวอิตาลี ผู้ได้แชมป์จากโผน กิ่งเพชร ในการชกนอกรอบด้วย สร้างความมั่นใจอย่างมาก จากนั้นจึงได้ขึ้นชิงแชมป์โลกกับ วอลเตอร์ แม็คโกแวน นักมวยชาวอังกฤษ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2509 ที่อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก โดยชาติชายสามารถชนะทีเคโอไปได้ในยกที่ 9

 แชมป์โลกคนที่ 2

ชนะทีเคโอ วอลเตอร์ แม็คโกแวนได้แชมป์โลกสมัยแรก
ชาติชาย นับได้ว่าเป็นแชมป์โลกคนหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของแฟนมวยและบุคคลร่วมสมัยตลอดกาลไม่แพ้ โผน กิ่งเพชร แชมป์โลกคนแรก หรือแชมป์โลกคนอื่น ๆ เลย โดยชาติชายเป็นแชมป์ถึง 3 สมัย ครองแชมป์ทั้งสถาบันเดอะริง (The Ring) สภามวยโลก (WBC) สมาคมมวยโลก (WBA) มีไฟท์ในความทรงจำหลายไฟท์ เช่น การป้องกันตำแหน่งกับ พันธุ์ทิพย์ แก้วสุริยะ เจ้าของฉายา "เสือหมัดซ้าย" นักมวยชาวไทยด้วยกันเอง ที่เรียกว่าเป็น "ศึกสายเลือด" ครั้งแรกของวงการมวยไทย การผลัดแพ้ - ชนะ แอฟเฟรน ทอร์เรส นักมวยชาวเม็กซิกัน ที่แฟนมวยชาวไทยตั้งฉายาให้ว่า "ไอ้แมงป่อง" หรือการชกกับ มาซาโอะ โอบะ นักมวยอันตรายชาวญี่ปุ่น รวมถึงการชกกับ เบิกฤกษ์ ชาติวันชัย นักมวยชาวไทยระดับแชมป์โลกอีกคน โดยชาติชายได้มีโอกาสชกต่อหน้าพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายต่อหลายครั้ง และทรงมีพระกรุณาต่อชาติชายอย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังคงตรึงอยู่ในความทรงจำของชาติชายตราบจนปัจจุบัน
ชาติชาย เชี่ยวน้อย สมัยยังชกมวยอยู่
ชาติชาย เชี่ยวน้อย ในปัจจุบัน
หลังแขวนนวม ชาติชาย มีชีวิตความเป็นอยู่สุขสบายตามอัตภาพ โดยอยู่กับลูก ๆ หลาน ๆ หลายคน มีฐานะมั่นคงจากหยาดเหยื่อแรงกายเมื่อครั้งสมัยรุ่งโรจน์ มีที่ดินหลายไร่ ที่ จังหวัดปทุมธานี และนครนายก ที่เจ้าตัวซื้อไว้สมัยที่ยังเป็นแชมป์โลก แต่ปัจจุบัน ชาติชายได้อาศัยอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่พร้อมภรรยา มีอาการป่วยเป็นอัมพฤกษ์ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ซึ่งก่อนหน้านั้นก็ได้มีข่าวลือว่าชาติชายเสียชีวิตแล้ว[1][2]

 เกียรติประวัติ

  • แชมป์ OPBF รุ่นฟลายเวท (2505 - 2506)
  • แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC (2510 - 2512)
    • ชิง 30 ธันวาคม 2509 ชนะน็อค วอลเตอร์ แมคโกแวน (อังกฤษ) ยก 9 ที่อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 26 กรกฎาคม 2510 ชนะน็อค พันธุ์ทิพย์ แก้วสุริยะ ยก 3 ที่ อินดอร์สเตเดียมหัวหมาก
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 19 ก.ย. 2510 ชนะน็อค วอลเตอร์ แม็คโกแวน (อังกฤษ) ยก 7 ที่ ลอนดอน [3]
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 28 มกราคม 2511 ชนะน็อค แอฟเฟรน ทอร์เรส (เม็กซิโก) ยก 13 ที่ เม็กซิโก
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 10 พฤศจิกายน 2511 ชนะคะแนน เบอร์นาเบ้ วิลลาแคมโป (ฟิลิปปินส์)
    • เสียแชมป์ 23 กุมภาพันธ์ 2512 แพ้น็อค แอฟเฟรน ทอร์เรส (เม็กซิโก) ยก 8 ที่ เม็กซิโก
  • แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC (2513)
    • ชิง 20 มีนาคม 2513 ชนะคะแนน แอฟเฟรน ทอร์เรส (เม็กซิโก) ที่อินดอร์สเตเดียมหัวหมาก
    • เสียแชมป์ 7 ธันวาคม 2513 แพ้น็อค เออร์บิโต้ ซาลาวาเรีย (ฟิลิปปินส์) ยก 2 ที่ อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก
  • แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA (2516 - 2517)ชิง 2 มกราคม 2516 แพ้น็อค มิซาโอะ โอบะ (ญี่ปุ่น) ยก 12 ที่ ญี่ปุ่น
    • ชิง 17 พฤษภาคม 2516 ชนะน็อค ฟริต เซอร์เวต (สวิตเซอร์แลนด์) ยก 5 ที่ อินดอร์สเตเดียมหัวหมาก
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 27 ตุลาคม 2516 ชนะคะแนน ซูซูมุ ฮานากาตะ (ญี่ปุ่น) ที่ อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 27 เมษายน 2517 ชนะคะแนน ฟริต เซอร์เวต (สวิตเซอร์แลนด์)ที่ สวิตเวอร์แลนด์
    • เสียแชมป์ 18 ตุลาคม 2517 แพ้น็อค ซูซูมุ ฮานากาต้า (ญี่ปุ่น) ยก 6 ที่ ญี่ปุ่น (ชาติชายถูกปลดก่อนหน้านี้เพราะทำน้ำหนักไม่ผ่าน)

 สถิติการชก (เฉพาะที่ไปชกต่างประเทศ)

สูจิบัตร ในการชกป้องกันตำแหน่งกับวอลเตอร์ แม็คโกแวน ที่อังกฤษ ที่อังกฤษ (พ.ศ. 2510)
ชาติชาย เชี่ยวน้อย ให้สัมภาษณ์วิทยุบีบีซีภาษาไทย ภายหลังการชก
รูปจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ชาติชาย เชี่ยวน้อยชกซ้ายเข้าจมูก วอลเตอร์ แม็คโกแวน ในการชิงแชมป์โลกครั้งแรก ที่สนามกีฬากิตติขจร (อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก ในปัจจุบัน)
ชาติชายฮุคขวาเข้าใบหน้า มาซาโอะ โอบะ แต่เป็นฝ่ายแพ้น็อกในยกที่ 12 ที่ญี่ปุ่น
ชาติชายเป็นนักมวยสากลชาวไทยที่ออกไปชกต่างแดนหลายครั้งทั้งชกป้องกันแชมป์และชกนอกรอบ เท่าที่บันทึกได้มีดังต่อไปนี้[4]
  •  ?? ???? 2502 เสมอ สละกัมพุช (กัมพูชา) ที่ พนมเปญ
  •  ?? ???? 2502 ชนะน็อค ยู่ สำอาง (กัมพูชา) ยก 2 ที่ พนมเปญ
  •  ?? ???? 2502 ชนะคะแนน วันโพธิ์ (กัมพูชา) ที่ พนมเปญ
  • 2 ก.ย. 2503 ชนะน็อค มาซาโนบุ กันบายาชิ (ญี่ปุ่น) ยก 8 ที่ โตเกียว
  • 29 ก.ย. 2503 ชนะน็อค อัตสึโยชิ ฟูกูโมโตะ (ญี่ปุ่น) ยก 2 ที่ โตเกียว
  • 19 ต.ค. 2503 ชนะคะแนน โยชิคัตสึ ฟูจิกาวา (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 4 ธ.ค. 2503 ชนะคะแนน มาซาโอะ โอกาวา (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 4 ม.ค. 2504 แพ้คะแนน มิตสุโนริ เซกิ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 19 เม.ย. 2504 ชนะน็อค คัตสึโยชิ อมาด้า (ญี่ปุ่น) ยก 6 ที่ โตเกียว
  • 15 พ.ค. 2504 ชนะน็อค อีด้า บาชิโอะ (ญี่ปุ่น) ยก 2 ที่ โตเกียว
  • 8 มิ.ย. 2504 แพ้คะแนน อกิร่า โอกูจิ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 21 ก.ค. 2504 ชนะน็อค มาซาคัตสึ กูโรกิ (ญี่ปุ่น) ยก 7 ที่ โอซาก้า
  • 17 ส.ค. 2504 แพ้คะแนน ฮารูโกะ สกาโมโต้ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 7 ก.ย. 2504 ชนะน็อค ฮิโรยูกิ โอกาวา (ญี่ปุ่น) ยก 2 ที่ โตเกียว
  • 4 ต.ค. 2505 ชนะน็อค เบบี้ เอสปิโนซ่า (ฟิลิปปินส์) ยก 6 ที่ เซบู
  • 22 พ.ย. 2505 ชนะคะแนน ฟรีโม ฟามีโร่ (ฟิลิปปินส์) ที่ มะนิลา (ชิงแชมป์ภาคฯรุ่นฟลายเวท)
  • 31 ธ.ค. 2505 แพ้คะแนน ฮิโรยูกิ เอบิฮาร่า (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 19 ก.พ. 2506 ชนะน็อค เซซากิ ไซโต้ (ญี่ปุ่น) ยก 8 ที่ โตเกียว
  • 7 มิ.ย. 2506 แพ้คะแนน ทาเคชิ นากามูร่า (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 7 ก.ค. 2506 แพ้คะแนน ทาเคชิ นากามูร่า (ญี่ปุ่น) ที่ โอซาก้า (ป้องกันแชมป์ภาคฯรุ่นฟลายเวท)
  • 26 ก.ค. 2506 ชนะคะแนน ทาดาโอะ กาวามูระ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 28 ส.ค. 2506 เสมอ คัตสุมิ ยามากามิ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 10 ธ.ค. 2506 ชนะคะแนน ยูจิ อิชิยาม่า (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 7 ม.ค. 2507 ชนะน็อค แพ็ต กอนซาเลซ (ฟิลิปปินส์) ยก 7 ที่ เซบู
  • 8 ก.พ. 2507 ชนะคะแนน รูดี้ วิลลากอนซ่า (ฟิลิปปินส์) ที่ มะนิลา
  • 10 มิ.ย. 2507 ชนะน็อค ลิตเติล พาราเมา (ฟิลิปปินส์) ยก 2 ที่ มะนิลา
  • 12 ก.ค. 2507 แพ้คะแนน เบอร์นาโด้ คาราบัลโล่ (ฟิลิปปินส์)
  • 24 เม.ย. 2508 ชนะน็อค รูดี้ วิลลากอนซ่า (ฟิลิปปินส์) ยก 4 ที่ เกซอน ซิตี้
  • 12 พ.ค. 2508 ชนะน็อค รูดี้ วิลลากอนซ่า (ฟิลิปปินส์) ยก 3 ที่ มะนิลา
  • 10 มิ.ย. 2508 ชนะน็อค เชอร์รี่ มอนตาโน (ฟิลิปปินส์) ยก 2 ที่ มะนิลา
  • 22 ส.ค. 2508 แพ้คะแนน ฮาจิเม ทาโรอูระ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • 19 ก.ย. 2510 ชนะน็อค วอลเตอร์ แม็คโกแวน (อังกฤษ) ยก 7 ที่ ลอนดอน บางแห่งว่าชนะคะแนน ? (ป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC)
  • 28 ม.ค. 2511 ชนะน็อค แอฟเฟรน ทอร์เรส (เม็กซิโก) ยก 13 ที่ เม็กซิโก ซิตี้ (ป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC)
  • 3 มิ.ย. 2511 แพ้คะแนน ราตอง โมจิก้า (นิคารากัว) ที่ มานากัว
  • 23 ก.พ. 2512 แพ้น็อค แอฟเฟรน ทอร์เรส (เม็กซิโก) ยก 8 ที่ เม็กซิโก ซิตี้ (ป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBC)
  • 2 ม.ค. 2516 แพ้น็อค มาซาโอะ โอบะ (ญี่ปุ่น) ยก 12 ที่ โตเกียว (ชิงแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA)
  • 29 ม.ค. 2517 แพ้คะแนน เฟอร์นันโด คาบาเนลล่า (ฟิลิปปินส์) ที่ ฮาวาย
  • 27 เม.ย. 2517 ชนะคะแนน ฟริต เซอร์วิต (สวิตเซอร์แลนด์) ที่ ซูริก, สวิตฯ (ป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA)
  • 18 ต.ค. 2517 แพ้น็อค ซูซูมุ ฮานากาต้า (ญี่ปุ่น) ยก 6 ที่ โยโกฮาม่า (ป้องกันแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA)
  • 24 ส.ค. 2518 แพ้น็อค โรดอลโฟ ฟรานซิส (ปานามา) ยก 6 ที่ ปานามา ซิตี้

 

พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์

    พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์ มีชื่อจริงว่า พงศกร วันจงคำ เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์ มีชื่อเล่นว่า กร และได้ชื่อเรียกจากแฟนมวยและสื่อมวลชนว่า เจ้ากร ถือได้ว่าเป็นนักมวยที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่มีนักมวยครองแชมป์ในสถาบันเล็ก ๆ เป็นส่วนใหญ่ ทำให้กีฬามวยสากลอาชีพไม่ได้รับความนิยมอย่างในอดีต แต่พงษ์ศักดิ์เล็กเป็นแชมป์ในสถาบันใหญ่ที่ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังทำสถิติการป้องกันตำแหน่งไว้ได้หลายครั้งด้วยกัน พงษ์ศักดิ์เล็กมีเอกลักษณ์ที่เป็นของตัวเองคือ เมื่อขึ้นเวทีจะสวมหมวกไหมพรมสีแดงที่ได้รับการปลุกเสก จาก หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ทุกครั้ง เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ
Wonjongkam.jpg
แชมป์โลกคนที่ 31 พงษ์ศักดิ์เล็กชกมวยสากลอาชีพแพ้เพียง 2 ครั้งเท่านั้น ต่อ เจอรี่ ปาฮายาไฮ นักมวยถนัดซ้ายชาวฟิลิปปินส์ คนเดียวเท่านั้น แต่หลังจากนั้นมาพงษ์ศักดิ์เล็กไม่เคยแพ้ใครอีกเลย และพัฒนาฝีมือการชกขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้ครองแชมป์โลกในรุ่นไลท์ฟลายเวท ของสหภาพมวยโลก หรือ WBU สถาบันระดับเล็ก

กับหมวกไหมพรมสีแดงคู่ใจ
จากนั้นในปี พ.ศ. 2543 เมื่อ เม็ดเงิน กระทิงแดงยิม เสียแชมป์โลกในรุ่นฟลายเวท ของสภามวยโลก หรือ WBC แก่ มัลคอร์ม ทูนาเกา นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ไปแล้วอย่างไม่มีใครคาดคิด จึงเป็นโอกาสของพงษ์ศักดิ์เล็กที่จะได้ขึ้นชิงแชมป์โลกคืน เนื่องจากเป็นนักมวยในสังกัดของ "เสี่ยเน้า" วิรัตน์ วชิรรัตนวงศ์ เหมือนกัน ซึ่งพงษ์ศักดิ์เล็กก็สามารถเอาชนะน็อกไปได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ยกแรกเท่านั้น ที่จังหวัดพิจิตร จากนั้นพงษ์ศักดิ์เล็กได้ป้องกันตำแหน่งอย่างต่อเนื่องและสามารถเอาชนะได้อย่างสวยงามหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน เช่น ชนะน็อก อเล็ก บาบ้า ผู้ท้าชิงอันดับหนึ่งชาวกานา ยก 8 ที่หาดใหญ่ ชนะ ไนโตะ ไดสุเกะ นักมวยชาวญี่ปุ่นถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2545 และ ปี พ.ศ. 2548 อย่างง่ายดาย รวมทั้งการเดินทางไปป้องกันตำแหน่งที่ประเทศญีปุ่นหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน
จนเมื่อถึงการป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 15 ในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่สยามพารากอน กับ อีเวอราโด โมราเลส นักมวยชาวเม็กซิกัน เป็นการจัดการแข่งขันครั้งใหญ่ เนื่องจากเป็นการทำสถิติการป้องกันตำแหน่งแชมป์ในรุ่นฟลายเวท เทียบเท่ากับ มิเกล คันโต อดีตแชมป์โลกชาวเม็กซิกันในอดีตที่ได้ทำสถิติได้ ซึ่งครั้งนี้ พงษ์ศักดิ์เล็กก็สามารถเอาชนะแตกไปได้ในยกที่ 4

ทำลายสถิติโลกและเสียแชมป์

ภายหลังการแพ้เสียตำแหน่งแก่ ไนโตะ ไดสุเกะ ซึ่งพงษ์ศักดิ์เล็กยอมรับผลคำตัดสิน

ไนโตะ ไดสุเกะ แลกหมัดกับพงษ์ศักดิ์เล็ก ในการป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกครั้งที่ 2 ของไดสุเกะ ซึ่งผลออกมาเสมอกัน
เมื่อสถิติโลกเดิมถูกทำลายลงแล้ว จากนั้น ทางทีมงานจึงวางเป้าให้พงษ์ศักดิ์เล็กป้องกันตำแหน่งให้ได้ 20 ครั้ง ซึ่งเท่ากับว่าจะทำลายสถิติการป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกมากครั้งที่สุดของนักมวยชาวไทยและเป็นสถิติของทวีปเอเชียด้วยของ เขาทราย แกแล็คซี่ คือ 19 ครั้ง จากนั้นจึงจะให้พงษ์ศักดิ์เล็กป้องกันตำแหน่งให้ได้มากกว่า 25 ครั้ง ทำลายสถิติโลกของ โจ หลุยส์ อดีตแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวท ชาวอเมริกัน แต่ทว่าการป้องกันตำแหน่งในครั้งที่ 18 ที่ประเทศญี่ปุ่น กับ ไนโตะ ไดสุเกะ คู่ปรับเก่าที่เคยเอาชนะมาแล้วถึง 2 ครั้ง พงษ์ศักดิ์เล็กต้องประสบกับปัญหาการลดน้ำหนักตัวซึ่งต้องทำการลดหลายครั้งก่อนการชั่งน้ำหนักอย่างเป็นทางการ และในวันชก ไนโตะ ไดสุเกะ แก้ทางมวยของพงษ์ศักดิ์เล็กมาเป็นอย่างดี ใช้จังหวะเข้าทำก่อนและโผเข้ากอด ทำให้พงษ์ศักดิ์เล็กไม่อาจทำอะไรได้ถนัดถนี่ เมื่อครบ 12 ยก จึงแพ้คะแนนไปอย่างเอกฉันท์ ด้วยคะแนน 115 - 113, 116 - 113, 116 - 113 ถือว่าเป็นการพ่ายแพ้อย่างไม่มีใครคาดคิดมาก่อน เพราะก่อนการชกหลายฝ่ายคาดว่า พงษ์ศักดิ์เล็กน่าจะเอาชนะไปได้เหมือน 2 ครั้งก่อนอย่างง่ายดาย
และทำให้เป้าหมายที่จะทำสถิติป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกให้ได้ถึง 20 ครั้ง ต้องดับสลายลงด้วยการป้องกันได้เพียง 17 ครั้ง แต่กระนั้นก็ทำให้พงษ์ศักดิ์เล็กมีสถิติการป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกมากเป็นอันดับที่ 2 ของทวีปเอเชีย เทียบเท่ากับ ยูห์ เมียงวู อดีตแชมป์โลกรุ่นจูเนียร์ฟลายเวท ของสมาคมมวยโลก หรือ WBA ชาวเกาหลีใต้
ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2551 พงษ์ศักดิ์เล็กมีโอกาสได้แก้มือกับไดสุเกะอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 4 ซึ่งเที่ยวนี้พงษ์ศักดิ์เล็กมีความมุ่งมั่นและเตรียมตัวมาดีกว่าครั้งที่แล้ว แต่ผลการชกก็ยังออกมาเสมอกันอีก ด้วยคะแนน 115 - 114, 115 - 113, และ 114 - 114 ที่โตเกียว
หลังจากนั้นพงษ์ศักดิ์เล็กก็ได้อุ่นเครื่องอีก 4 ครั้ง ชนะรวด และได้มีโอกาสชิงแชมป์อีกครั้ง แต่เป็นแชมป์เฉพาะกาล โดยชนะคะแนนอย่างขาดลอย กับ ฮูลิโอ ซีซาร์ มิรันด้า นักมวยชาวเม็กซิกัน เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552 ที่หน้าศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา

กลับมาเป็นแชมป์โลกอีกครั้ง

จนในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553 พงษ์ศักดิ์เล็กก็ได้มีโอกาสชิงแชมป์โลกของจริง กับ โกกิ คาเมดะ นักมวยหนุ่มที่ห้าวหาญผู้ไม่เคยแพ้ใคร ผู้เป็นพี่ใหญ่แห่งตระกูลคาเมดะ ผลการชกปรากฏว่าทั้งคู่เกิดหัวชนกัน ทำให้คาเมดะเกิดแผลแตก เลือดไหลเข้าตาตั้งแต่ยก 4 และในยกที่ 5 พงษ์ศักดิ์เล็กก็ถูกตัดคะแนนในข้อหาหัวชน แต่ในการชกพงษ์ศักดิ์เล็กเป็นฝ่ายทำคะแนนได้จะแจ้งกว่า จึงเป็นฝ่ายชนะคะแนนไปแบบไม่เอกฉันท์ 114-114, 116-112, 115-112 ได้กลับมาเป็นแชมป์โลกอีกครั้ง นับเป็นสมัยที่ 2

เขาทราย เเกเเล็คซี่

เขาทราย แกแล็คซี่ (อังกฤษ: Khaosai Galaxy) อดีตนักมวยแชมเปี้ยนโลกชาวไทย รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท (115 ปอนด์) ของ สมาคมมวยโลก (WBA) เป็นแชมป์โลกคนที่ 9 ของไทย มีชื่อจริงว่า นายสุระ แสนคำ ได้รับสมญานามว่า "ซ้ายทะลวงไส้" เขาทราย แกแล็กซี่ ยังมีพี่ชายฝาแฝด ซึ่งเป็น อดีตแชมป์โลกเช่นเดียวกันคือ เขาค้อ แกแล็คซี่ หรือ นายวิโรจน์ แสนคำ อดีตแชมป์โลกรุ่นแบนตั้มเวท WBA โดยมีระยะเวลาที่เป็นแชมป์โลกคู่กัน ซึ่งทำให้นับเป็นแชมป์โลกคู่แฝดรายแรกของโลกอีกด้วย
หลังครองตำแหน่งเขาทรายสามารถป้องกันตำแหน่งได้ถึง 19 ครั้งติดต่อกัน นับเป็นสถิติโลกสูงสุด ในรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวทถึงปัจจุบัน และเป็นสถิติสูงสุดอันดับ 3 ในการป้องกันแชมป์โลกทุกรุ่นในขณะนั้น มีสถิติป้องกันตำแหน่งโดยชนะน็อค 16 ครั้ง ชนะคะแนนเพียง 3 ครั้ง และได้ประกาศแขวนนวมในฐานะ แชมป์โลกผู้ไม่เคยแพ้ใคร ตลอดระยะเวลาที่ครองตำแหน่ง 2,628 วัน หรือ 7 ปี 2 เดือน 30 วัน
ในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) เขาทรายได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ "World Boxing Hall of Fame" จากสมาคมมวยโลก โดยได้รับการบรรจุชื่อในหอเกียรติยศนักมวยโลก ณ เมืองคานาสโตต้า (Canastota) มลรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยสถิติการชก 50 ครั้ง ชนะ 49 ครั้ง โดยชนะน็อคถึง 43 ครั้ง คิดเป็นสถิติชนะด้วยการน็อคเอ้าท์ถึง ร้อยละ 87.75 และเคยแพ้คะแนนเพียงครั้งเดียว การชนะน็อคถึง 43 ครั้ง ยังนับเป็นสถิติโลกสูงสุด ในรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท (ซูเปอร์ฟลายเวท) จนถึงปัจจุบันอีกด้วย
Khaosai.jpg
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อจริงสุระ แสนคำ
ฉายาซ้ายทะลวงไส้
วันเกิด15 พฤษภาคม พ.ศ. 2502
สถานที่เกิดFlag of ไทย จังหวัดเพชรบูรณ์
รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท
ผู้จัดการนิวัฒน์ เหล่าสุวรรณวัฒน์
เทรนเนอร์พงษ์ ถาวรวิวัฒน์บุตร
สถิติ
ชก50
ชนะ49
ชนะน็อก43
แพ้1
เสมอ0


วัยเด็ก
เขาทรายเป็นบุตรของนายขัน แสนคำ และนางคำ แสนคำ เกิดวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 ที่หมู่บ้านเฉลียงลับ ตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จบการศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเฉลียงลับวิทยา ชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนประสิทธิวิทยา และระดับอาชีวศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากโรงเรียนเทคนิคเพชรบูรณ์

 การชกมวยไทย

ด.ช.สุระ แสนคำ เริ่มหัดชกมวยไทยครั้งแรกกับ ครูปราการ วรศิริ ขณะมีอายุได้ 14 ปี ด้วยน้ำหนักตัว 40 ปอนด์ ขึ้นชกมวยไทยอาชีพครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2515 ใช้ชื่อว่า "ดาวเด่น เมืองศรีเทพ" โดยมี ครูมานะ พรหมประสิทธิ์ เป็นเทรนเนอร์ ตระเวนชกในจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดใกล้เคียง โดยมีปัญหาในการชกมวยไทยเนื่องจากเสียเปรียบความสูง ทำให้ต้องลดน้ำหนักมากเพื่อชกกับมวยรุ่นเล็กกว่า เป็นสาเหตุให้หลายครั้งหมดแรงไม่สามารถชกมวยไทยได้ดีเท่าที่ควร
ในการชกมวยไทยอาชีพครั้งสุดท้ายกับ กังสดาล ส.ประทีป ต้องคุมน้ำหนักเพื่อชกในพิกัดรุ่น 108 ปอนด์ ทั้งที่ขนาดร่างกายต้องอยู่รุ่น 118 ปอนด์ แต่เพราะตัวเตี้ยเสียเปรียบจึงต้องชกในรุ่นต่ำกว่าเพื่อให้ได้คู่ชกที่ความสูงใกล้เคียงกัน การลดน้ำหนักครั้งนั้นทำให้หมดแรงและแพ้คะแนนขาดลอย นับเป็นการชกที่เจ็บตัวที่สุดในชีวิต แม้จะมีปัญหาเรื่องความสูงและต้องลดน้ำหนักอยู่เสมอ แต่ก็ยังมีสถิติการชกมวยไทยดีพอสมควรเนื่องจากพลังหมัดที่หนักหน่วง จากการชกมวยไทยรวม 54 ครั้ง สามารถชนะ 43 ครั้ง (น็อค 30 ครั้ง) แพ้ 8 ครั้ง และเสมอ 3 ครั้ง
หลังการชกกับ กังสดาล ส.ประทีป นิวัฒน์ เหล่าสุวรรณวัฒน์ (แชแม้) โปรโมเตอร์ชื่อดังที่ชักชวนให้มาชกที่กรุงเทพฯ ในชื่อ "เขาทราย วังชมภู" (ต่อมาเปลี่ยนชื่อหลังตามชื่อค่ายว่า "แกแล็คซี่" ซึ่งเป็นชื่อกิจการของนักธุรกิจชื่อดังคือ นายอมร อภิธนาคุณ) ได้สนับสนุนให้เขาทรายเปลี่ยนมาชกมวยสากลอาชีพ นับเป็นการเริ่มต้นตำนานแชมป์โลกของ เขาทราย แกแล็กซี่

 การชกมวยสากล

ชีวิตการชก มวยไทย ของเขาทราย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จนได้รับการปรามาส จากแฟนมวยว่า "เขาควาย" จึงเบนเข็มมาชกมวยสากล โดยฝึกมวยสากลจาก "ครูเฒ่า-ชนะ ทรัพย์แก้ว" และ "เกา คิม หลิน-ทวิช จาติกวณิช" และเมื่อเป็นแชมป์โลกเปลี่ยนมาเป็น "โกฮง-พงษ์ ถาวรวิวัฒน์บุตร"
เมื่อเปลี่ยนมาชกมวยสากลเขาทรายสามารถชนะน็อค ด้วยหมัดซ้ายติดต่อกัน 5 ครั้ง ชนะคะแนนอีก 1 ครั้ง เขาทรายมีโอกาสได้ขึ้นชิงแชมป์เวทีราชดำเนินรุ่นแบนตั้มเวทกับศักดา ศักดิ์สุรีย์ แชมป์ในขณะนั้น เมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 ก่อนการชก ทุกฝ่ายมั่นใจว่าเขาทรายน่าจะเป็นฝ่ายชนะน็อคได้ไม่ยาก เพราะศักดาน้ำหนักเกินรุ่นแบนตั้มเวทไปมาก ถึงวันชั่งน้ำหนักยังต้องอบตัวและออกวิ่งกว่าจะทำน้ำหนักตามพิกัดได้ เมื่อขึ้นเวทีชกกันจริงๆ ปรากฏว่าเขาทรายเข้าไม่ติด ไม่สามารถใช้หมัดซ้ายชกศักดาได้จังๆเพราะเสียเปรียบช่วงชกมาก ศักดาใช้ช่วงชกที่ได้เปรียบชกทำคะแนนนำไปก่อนแม้จะอ่อนแรงในยกท้ายๆและถูกเขาทรายต่อยจนแตกทั้งสองคิ้ว เมื่อเขาทรายชกศักดาลงไปให้กรรมการนับสิบไม่ได้ ครบสิบยก ศักดาจึงเป็นฝ่ายชนะคะแนนไป [1]
หลังจากชกแพ้ในครั้งนั้น นิวัฒน์ผู้จัดการจัดให้เขาทรายชกกับทสึกูยูกิ โตฟา นักมวยสากลชาวญี่ปุ่นเป็นการแก้หน้าในครั้งต่อมา ซึ่งเขาทรายเป็นฝ่ายชนะน็อคได้ในยกที่ 4 และในการชกครั้งต่อมาเขาทรายชนะน็อก ศักดิ์สมัย ช.ศิริรัตน์ ได้ครองแชมป์ แบนตั้มเวท เวทีมวยราชดำเนิน ที่ว่างอยู่เนื่องจากศักดาสละแชมป์ไป และนับจากชกชนะทสึกูยูกิ เขาทรายไม่เคยแพ้ใครอีกเลยจนได้ชิงแชมป์โลก
หลังได้ครองแชมป์แบนตั้มเวท ราชดำเนิน เขาทรายลดรุ่นลงมาชกในรุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท สามารถชกชนะติดต่อกัน 17 ครั้ง โดยเป็นการชนะน็อคถึง 15 ครั้ง รวมทั้งชนะน็อค วิลลี่ เจนเซ่น (Willie Jensen) รองแชมป์โลกจูเนียร์แบนตั้มเวท ได้ขึ้นชิงแชมเปี้ยนโลก รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวทที่ว่างลง ของสมาคมมวยโลก(WBA) กับ ยูเซปีโอ เอสปีนัล (Eusebio Espinal) นักชกชาวโดมินิกัน ที่เวทีมวยราชดำเนิน และสามารถชนะน็อคได้ครองตำแหน่งแชมเปี้ยนโลก เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 และยังทำสถิติป้องกันแชมป์ได้ติดต่อกันถึง 19 ครั้ง มากที่สุด ในบรรดาแชมป์โลกชาวไทย และทวีปเอเชีย โดยทำลายสถิติเดิมของ ชาง จุง กู นักมวยสากลชาวเกาหลีใต้ ที่ป้องกันได้ 15 ครั้ง และเป็นสถิติโลก ในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท (115 ปอนด์) ด้วย เทียบเท่ากับ ยูเซปิโอ เปรโดซ่า อดีตแชมป์โลก รุ่นเฟเธอร์เวท WBA ที่ทำสถิติป้องกันแชมป์เอาไว้ถึง 19 ครั้งเท่ากัน โดยเขาทรายทำสถิติการชกไว้ทั้งหมด 50 ครั้ง ชนะ 49 ครั้ง โดยชนะน็อกถึง 43 ครั้ง แพ้คะแนนเพียง 1 ครั้ง และในการป้องกันแชมป์ 19 ครั้ง เป็นการชนะน็อกถึง 16 ครั้ง มีเพียง 3 ครั้งที่ชนะคะแนน
เขาทราย แกแล็คซี่ นับว่าเป็นนักมวยที่ได้รับความนิยมสูงสุดตลอดกาล ในสมัยที่ยังชกมวยอยู่ ได้รับฉายาจากแฟนมวยว่า "ซ้ายทะลวงไส้" จากหมัดซ้ายที่หนักหน่วง และการชกลำตัวที่ยอดเยี่ยม เป็นนักมวยที่ไปชกป้องกันตำแหน่งนอกประเทศหลายครั้ง รวมทั้งเคยป้องกันกับนักมวยชาวไทยด้วยกัน คือ ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ และแทบทุกครั้งของการชก เขาทรายจะได้รับชัยชนะอย่างงดงาม ความนิยมในตัวเขาทรายมีถึงขนาดที่ว่า เมื่อใดที่เขาทรายชก ถนนในกรุงเทพฯ จะว่าง เพราะทุกคนรีบกลับบ้านไปดูเขาทราย

 ชีวิตหลังแขวนนวม

เขาทราย แกแล็คซี่ ขณะออกเทปร่วมกับสามารถ พยัคฆ์อรุณ และ สมรักษ์ คำสิงห์ อัลบั้ม 3 หมัด สะบัดไมค์ (พ.ศ. 2546)
ชนะน็อกยก 6 ยูเซบิโอ เอสปินัล ได้ครองแชมป์โลก
ชนะน็อกยก 14 เอลลี่ ปิกัล ที่อินโดนีเซีย
หลังแขวนนวม เขาทรายออกอัลบั้มเพลงมาชุดหนึ่ง เพื่อเป็นการขอบคุณแฟน ๆ ที่ให้การสนับสนุน ชื่อชุด "ขอบคุณครับ" และมีพิธีมงคลสมรส กับหญิงสาวชาวญี่ปุ่น "ยูมิโกะ โอตะ" ที่พบกันในการป้องกันตำแหน่งที่นั่นโดยมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีที่จัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 แต่ได้หย่าขาดกันในเวลาต่อมา ปัจจุบัน เขาทรายมีธุรกิจส่วนตัวมากมาย เช่น ร้านหมูกระทะ โต๊ะสนุกเกอร์ และรับงานแสดงในวงการบันเทิงเป็นครั้งคราวด้วย
เขาทราย เป็นนักมวยที่ได้รับการกล่าวขานมาก จนอาจเรียกว่าเป็นนักกีฬาชาวไทยที่ได้รับเกียรติยศมากที่สุดก็ว่าได้ เช่น ได้รับรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมหลายครั้ง ได้รับการยกย่องจากหลายวงการไม่เฉพาะวงการกีฬา ได้รับการบรรจุชื่อในหอเกียรติยศ (Hall of Fame) ของ WBA ในปี พ.ศ. 2542, ในหอเกียรติยศในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์กีฬาไทยของการกีฬาแห่งประเทศไทย และได้รางวัลนักกีฬาขวัญใจมหาชน จากการโหวตของแฟนกีฬาชาวไทยของบริษัทสยามสปอร์ต จำกัด ในปี พ.ศ. 2550 ทั้งที่เขาทรายแขวนนวมไปแล้วเกือบ 20 ปี[2]
อีกทั้งยังเป็นนักมวยรายแรกด้วย ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ ประเพณีการมอบทองและของรางวัล ก่อนการชกบนเวที ซึ่งเริ่มมาจาก การป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 9 ที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยครั้งนั้นมีนายวัฒนา อัศวเหม เป็นประธานจัด ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มของการจัดชกมวยของนักการเมืองด้วย
ในทางการเมือง เขาทรายเข้าเป็นสมาชิก พรรคเพื่อแผ่นดิน และลงสมัครเลือกตั้งในระบบสัดส่วน ในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
ชีวิตส่วนตัวในปัจจุบัน เขาทรายมีบ้านพักที่ย่านนวลจันทร์ ถนนรามอินทรา โดยมี นางสุรีรัตน์ แสนคำ เป็นภรรยาในปัจจุบัน มีบุตรสาว 1 คน มีกิจการร้านหมูกระทะ โต๊ะสนุกเกอร์ หลังคารถกระบะ และกิจการค้าขายทางด้านเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรที่จังหวัดสระบุรี งานอดิเรกของเขาทรายในยามว่าง คือ การปลูกผักสวนครัวเพื่อรับประทานเองในครอบครัว ไว้ในที่ดินที่บ้านพัก [3]
ส่วนในวงการมวย ยังทำหน้าที่เป็นเทรนเนอร์ให้กับนักมวยในสังกัดของนิวัฒน์ เหล่าสุวรรณวัฒน์ อดีตผู้จัดการ เช่น เด่นเก้าแสน กระทิงแดงยิม และ พูนสวัสดิ์ กระทิงแดงยิม เป็นต้น

ประวัติการชกมวยสากลอาชีพ


คู่ชกของ เขาทราย แกแล็กซี่ ทั้งที่เคยเป็นแชมป์โลกมาก่อน และได้เป็นแชมป์โลกในเวลาต่อมามีทั้งหมด 8 ราย คือ
  • ปาร์ค ชาน ยอง (Park Chang Yong) คู่ชกอุ่นเครื่อง ต่อมาได้แชมป์โลก รุ่นแบนตัมเวท (115 ปอนด์) WBA
  • ราฟาเอล โอโรโน่ (Rafael Orono) อดีตแชมป์โลก รุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท (115 ปอนด์) WBA สองสมัย
  • อิสราเอล คอนเทรรัส (Israel Contreras) ต่อมาได้แชมป์โลก รุ่นแบนตัมเวท (118 ปอนด์) WBO และ WBA
  • เอลลี่ ปิกัล (Ellyas Pical) อดีตแชมป์โลก รุ่น 115 ปอนด์ IBF 2 สมัย และต่อมาได้แชมป์ รุ่น 118 ปอนด์ IBF
  • ชาง โฮ ชอย (Chang Ho Choi) อดีตแชมป์โลก รุ่นฟลายเวท (112 ปอนด์) IBF
  • แต อิล ชาง (Tae-Il Chang) อดีตแชมป์โลก รุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท (115 ปอนด์) IBF
  • คิม ยอง กัง (Kim Yong Kang) อดีตแชมป์โลก รุ่นฟลายเวท (112 ปอนด์) WBC และต่อมาได้แชมป์รุ่นฟลายเวท WBA
  • เดวิด กรีแมน (David Griman) ต่อมาได้แชมป์โลก รุ่นฟลายเวท (112 ปอนด์) WBA

วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น


วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น มีชื่อจริงว่า ธีระพล สำราญกลาง เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นบุตรของนายแก่เฮง และนางลม สำราญกลาง ต่อมาครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา วีระพลเป็นคนมีหน้าตาเคร่งขรึม จึงได้ฉายาว่า "พยัคฆ์หน้าขรึม"
Veeraphol nakornluangpromotion.jpg


ยอดมวยไทย

วีระพลเคยชกมวยไทยมาก่อนอย่างโชกโชน เป็นมวยฝีมือดี ในชื่อ "วีระพล สหพรหม" ประสบความสำเร็จอย่างมาก เคยเป็นแชมป์มวยไทยหลายรุ่นของเวทีราชดำเนิน เคยผลัดแพ้ - ชนะ กับ "แซมซั่น" แสนเมืองน้อย ลูกเจ้าพ่อมเหศักดิ์ เคยเป็นนักมวยไทยยอดเยี่ยมของเวทีราชดำเนิน ในปี พ.ศ. 2536 เมื่อหาคู่ชกในแบบมวยไทยไม่ได้แล้ว สุชาติ พิสิฐวุฒินันท์ จึงได้ซื้อตัววีระพลต่อมาจาก ชูเจริญ ระวีอร่วมวงศ์ ผู้จัดการเดิม เพื่อสร้างสรรค์ในแบบมวยสากลอาชีพ โดยตั้งเป้าไว้ที่เป็นแชมป์โลก

 ชก 4 ครั้งเป็นแชมป์โลก

วีระพลชกมวยสากลครั้งแรก ก็ได้ชิงแชมป์เลย โดยชิงแชมป์เงารุ่น ซูเปอร์ฟลายเวท ของสภามวยโลก (WBC) กับโจเอล จูนิโอ นักมวยชาวฟิลิปปินส์ โดยชนะน็อกในยกที่ 3 ไป จากนั้นวีระพล อุ่นเครื่องอีก 3 ครั้ง ก็ได้ชิงแชมป์โลกของจริงกับนักมวยไทยด้วยกันเอง คือ ดาวรุ่ง ชูวัฒนะ นับเป็นศึกสายเลือดอีกครั้ง โดยมีเดิมพันวางไว้สูงของผู้จัดการทั้งสองฝ่าย และศึกครั้งนี้ สุชาติ พิฐวุฒินันท์ เป็นผู้จัดเอง ผลการชก วีระพลเป็นฝ่ายใช้ลีลาหลอกล่อ ดักชกเอาชนะคะแนน 12 ยก ดาวรุ่งไป กลายเป็นแชมป์แบนตั้มเวท ของสมาคมมวยโลก (WBA) คนใหม่ และเป็น แชมป์โลกที่มีสถิติการชกมวยน้อยที่สุดเป็นอันดับสองของโลก คือ ชกเพียง 4 ครั้ง ก็ได้แชมป์โลกด้วย (อันดับหนึ่ง คือ แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ ที่ชกเพียง 3 ครั้ง)

 แชมป์โลกสมัยที่ 2

แต่วีระพลป้องกันตำแหน่งครั้งแรกกับ นานา คอว์นาดู นักมวยชาวกานา ที่ จ.กาญจนบุรี วีระพลก็เสียตำแหน่งไปทันที โดยแพ้น็อกในยกที่ 2 เท่านั้น แต่กลุ่มผู้สนับสนุนคือ สุชาติ พิสิฐวุฒินันท์ ก็ไม่ละทิ้งความพยายาม โดยตั้งเป้าไว้ที่จะให้ชิงแชมป์โลกอีกครั้ง วีระพลจึงถูกสร้างสรรค์อีกครั้งอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ขึ้นชกสม่ำเสมอสร้างประสบการณ์และความแข็งแกร่ง เมื่อ ศิริมงคล สิงห์มนัสศักดิ์ เสียตำแหน่งแชมป์แบนตั้มเวท สภามวยโลก (WBC) ให้แก่ โจอิชิโร ทัตสุโยชิ นักมวยชาวญี่ปุ่นไป วีระพลจึงมีโอกาสขึ้นชิงแชมป์อีกครั้ง โดยที่วีระพลเดินทางไปชกถึงประเทศญี่ปุ่น และก็สามารถเอาชนะทีเคโอ โจอิชิโร่ ทัตสุโยชิ ไปได้ในยกที่ 6 อย่างงดงาม เป็นที่ประทับใจ หลังจากนั้นวีระพลได้ชกป้องกันตำแหน่งอีกหลายหลายครั้ง ทั้งในและนอกประเทศ นับ 10 กว่าครั้ง เป็นขวัญใจของแฟนมวย ได้รับรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยมของชาติ หลายต่อหลายครั้ง แต่ในการป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 15 กับ โฮซูมิ ฮาเซกาวา นักมวยชาวญี่ปุ่น วีระพลกลับเป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปอย่างสูสี และเมื่อได้มีการแก้มือกันอีกครั้ง ผลการชกก็ออกมาเป็นว่า วีระพลเป็นฝ่ายแพ้น็อกไปในยกที่ 9 อีก แต่ วีระพลและกลุ่มผู้สนับสนุนก็ยังไม่ละความพยายาม ยังคงสนับสนุนวีระพลต่อไป โดยหวังว่าจะกลับมาเป็นแชมป์อีกครั้ง ในสมัยที่ 3
แต่ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551 วีระพลขึ้นชิงแชมป์เฉพาะกาล กับ แชมป์อินเตอร์คอนติเนนคัล วูซี่ มาลิงก้า ชาว แอฟริกาใต้ที่ จ.นนทบุรีปรากฏว่า วีระพล สู้สังขารและสภาพร่างกายไม่ไหว แพ้ ทีเคโอในยกที่ 4 เท่านั้น โดยในปลายยกที่ 3 วีระพลถูกหมัดรัวชุดของมาลิงก้า จนลงไปกองนับแปดก่อนระฆังจะช่วยหมดยกพอดี ขึ้นยกที่ 4 วีระพลยังถูกหมัดฮุกรัวเป็นชุดของมาลิงก้า จนกรรมการบนเวทีเห็นว่าวีระพลหมดทางสู้ จึงยุติการชกไปเพียงแค่ยกที่ 4 เท่านั้น ทำให้หลังจากไฟต์นี้ ความหวังในการขึ้นชิงแชมป์โลกอีกครั้งของวีระพลต้องดับวูบลงไป แต่หลังจากนี้วีระพลก็ยังคงชกเคลื่อนไหวอีกเป็นระยะ ๆ พร้อมกับเป็นเทรนเนอร์ให้กับ นภาพล เกียรติศักดิ์โชคชัย นักมวยในสังกัดเดียวกันเมื่อครั้งขึ้นชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท WBC กับ โตชิอากิ นิชิโอกะ ด้วย ด้วยเห็นว่าวีระพลเคยชกกับนิชิโอกะมาแล้วถึง 4 ครั้งด้วยกัน

 ชีวิตส่วนตัว

วีระพลปัจจุบันสมรสแล้ว มีลูกชายหนึ่งคน และลูกสาวหนึ่งคน

 เกียรติประวัติ

  • แชมป์เงารุ่นซูเปอร์ฟลายเวท WBC (2537 - 2538)
    • ชิง, 5 ธ.ค. 2537 ชนะน็อค โจเอล จูนิโอ (ฟิลิปปินส์) ยก 3 ที่ จ.นนทบุรี
    • ป้องกันครั้งที่ 1, 26 มี.ค. 2538 ชนะน็อค เมลวิน มากราโม (ฟิลิปปินส์) ยก 9 ที่ จ.นนทบุรี
    • สิงหาคม 2538 สละแชมป์
  • แชมป์โลกรุ่นแบนตัมเวท WBA (2538 - 2539)
    • ชิงแชมป์โลกรุ่นแบนตัมเวท WBA 17 กันยายน 2538 ชนะคะแนน ดาวรุ่ง ชูวัฒนะ ที่ จ.นนทบุรี
    • เสียแชมป์ 28 มกราคม 2539 แพ้น็อค นานา คอนาดู (กานา) ยก 2 ที่ จ.กาญจนบุรี
  • แชมป์โลกรุ่นแบนตัมเวท WBC (2541 - 2548)
    • ชิง, 29 ธ.ค. 2541 ชนะน็อค โจชิอิโร ทัตสุโยชิ (ญี่ปุ่น) ยก 6 ที่ โอซาก้า
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 21 พฤษภาคม 2542 ชนะน็อค มัวโร บลังก์ (อุรุกวัย) ยก 5 ที่ จ.สระบุรี
    • ป้องกันครั้งที่ 2, 29 ส.ค. 2542 ชนะน็อค โจชิอิโร ทัตสุโยชิ (ญี่ปุ่น) ยก 7 ที่ โอซาก้า
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 11 มีนาคม 2543 ชนะคะแนน อดัน วาร์กัส (เม็กซิโก) ที่ จ.สระแก้ว
    • ป้องกันครั้งที่ 4, 25 มิ.ย. 2543 ชนะคะแนน โตชิอากิ นิชิโอกะ (ญี่ปุ่น) ที่ โกเบ
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 5 ธันวาคม 2543 ชนะแตก ออสการ์ อาชิเนกา (เม็กซิโก) ยก 5 ที่ สนามหลวง
    • ป้องกันครั้งที่ 6, 14 พ.ค. 2544 ชนะน็อค ริคาร์โด บาราฮาส (เม็กซิโก) ยก 3 ที่ ฝรั่งเศส
    • ป้องกันครั้งที่ 7, 1 ก.ย. 2544 เสมอ โตชิอากิ นิชิโอกะ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 8, 11 มกราคม 2545 ชนะคะแนน เซอร์จิโอ เปเรซ (เม็กซิโก) ที่ จ.ปทุมธานี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 9, 1 พฤษภาคม 2545 ชนะคะแนน ฮูลิโอ โคโรเนล (โคลัมเบีย) ที่ จ.นนทบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 10, 1 พฤษภาคม 2546 ชนะคะแนน ฮูโก เดียนโซ (เม็กซิโก) ที่ เดอะมอลล์ บางแค
    • ป้องกันครั้งที่ 11, 4 ต.ค. 2546 เสมอ โตชิอากิ นิชิโอกะ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
    • ป้องกันครั้งที่ 12, 6 มี.ค. 2547ชนะคะแนน โตชิอากิ นิชิโอกะ (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
    • ป้องกันครั้งที่ 13, 1 พ.ค. 2547 ชนะน็อค ฮูลิโอ ซีซาร์ อวีร่า (เม็กซิโก) ยก 12 ที่ จ.หนองคาย
    • ป้องกันครั้งที่ 14, 11 ก.ย. 2547 ชนะคะแนน เซซิลิโอ ซานโตส (เม็กซิโก) ที่ จ.ชัยนาท
    • เสียแชมป์, 16 เม.ย. 2548 แพ้คะแนน โฮซูมิ ฮาเซกาวา (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
  • เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ
    • ชิงแชมป์โลกรุ่นแบนตัมเวท WBC, 25 มี.ค. 2549 แพ้น็อค โฮซูมิ ฮาเซกาวา (ญี่ปุ่น)ยก 9 ที่ญี่ปุ่น
    • ชิงแชมป์โลกเฉพาะกาลรุ่นแบนตัมเวท WBC, 12 มิ.ย. 2551 แพ้ทีเคโอ วูซี่ มาลิงก้า (แอฟริกาใต้) ยก 4 ที่ จ.นนทบุรี
  • แชมป์ ABCO รุ่นแบนตัมเวท
    • ชิง, 27 พ.ย. 2550 ชนะคะแนน ริชาร์ด ลาเอโน่ (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.นนทบุรี
    • สละแชมป์